คุณสมบัติที่สำคัญของนักคณิตศาสตร์ประกันภัย
- ทักษะทางคณิตศาสตร์ที่ดี
- มีความกะตือรือร้น และมุ่งมั่น
- มีทักษะการวิเคราะห์ที่หลักแหลมและมีความสามารถในการคาดการณ์
- มีความสามารถในการแก้ปัญหา
- มีความสามารถในการสื่อสารทั้งทางวาจาและการเขียน
- มีความเข้าใจความเป็นเหตุเป็นผลทางด้านธุรกิจ
ในมุมมองของฉัน ฉันคิดว่าอาชีพนี้ต้องอาศัยความอดทนในการเรียนอ่ย่างมาก มีวินัยสูง และมีความชื่นชอบในการคำนวณทางคณิตศาสตร์ได้เป็นอย่างดี
จากทีฉันเคยอ่านตามบทความต่างๆ ของการเป็นนักคณิตศาสตร์ประกันภัยพบว่า รายได้ถึงหลักล้าน แต่กว่าจะเป็นถึงขั้นนั้นได้ ก็ต้องมีความมานะและมุ่งมั่นอย่างมากๆๆๆ
ตัวอย่างนักคณิตศาสตร์ประกันภัยที่สำคัญของไทย
เจียรมณีทวีสิน ศิษย์เก่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ รั้วจามจุรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือที่ใครๆ ต่างก็รู้จักกันในนาม Tommy Pichet หนึ่งในคนไทยที่ผันเปลี่ยนตัวเองจากวิศวกรหนุ่มมาเป็นแอคชัวรี หรือนักคณิตศาสตร์ประกันภัย
“จุดเริ่มต้น ผมมารู้จักอาชีพคณิตศาสตร์ประกันภัย ตอนนั้นเรียนจบ วิศว จุฬา และรู้สึกว่า ตัวเราชอบคณิตศาสตร์ จากเด็กคนหนึ่งที่เคยตกเลขมาก่อน จนกระทั่งเก่งเลข เพราะฉะนั้นเราจะรู้ว่า คนที่ไม่เข้าใจเลข ไม่เก่งเลขเป็นยังไง อย่างแรกเราต้องมีทัศนคติเกี่ยวเลข อย่างแรกเลย เลขไม่โกหกเรา สองเลขคือ ภาษาหนึ่งที่ทำให้เราคุยได้เป็นเหตุเป็นผล ดังนั้นจึงเป็นภาษาหนึ่งที่ใช้กันทั่วโลกในเรื่องธุรกิจ ในเรื่องของการตัดสินใจ
อาชีพนักคณิตศาสตร์ประกันภัย จะเป็นอาชีพเฉพาะที่อยู่ในแวดวงของประกัน ส่วนใหญ่อาชีพนี้จะเน้นคือการวิเคราะห์อดีต มองหน้าอนาคต มาประเมินสถานการณ์ปัจจุบัน ในเรื่องของต้นทุนและความเสี่ยง และเป็นที่ต้องการสำหรับธุรกิจประกันภัย ซึ่งเป็นธุรกิจที่มีต้นทุนเกิดขึ้นมาที่หลังและเกี่ยวข้องกับการจัดการต้นทุนที่ไม่รู้ว่าเกิดขึ้นเมื่อไร นักคณิตศาสตร์จึงมีความสำคัญที่จะต้องคิดต้นทุนหรือค่าความเสี่ยง หรือจะเรียกว่า คณิตศาสตร์พยากรณ์ หรือคณิตศาสตร์การเงิน ก็ได้”
อาชีพ “นักคณิตศาสตร์ประกันภัย” ยังติดอันดับในกลุ่ม"อาชีพที่ดีที่สุด" ของยุโรปและอเมริกา เนื่องจากเป็นวิชาชีพที่มีโอกาสประสบความสำเร็จสูงและมีความก้าวหน้าอย่างชัดเจนตามความสามารถของตน รวมทั้งเป็นที่ต้องการมากในตลาดแรงงานทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งเป็นอาชีพระดับหัวกะทิและมีสถานะที่สูงในสายตาของวิชาชีพอื่นๆทางการเงิน รองลงมาจากอาชีพโปรแกรมเมอร์ นักวิเคราะห์ระบบคอมพิวเตอร์ นักคณิตศาสตร์ และนักสถิติ
แต่สำหรับประเทศไทย อาชีพ Actuary หรือนักคณิตศาสตร์ประกันภัย กลับไม่เป็นที่รู้จัก มีเพียงคนไทยไม่กี่คนที่เป็น "นักคณิตศาสตร์ประกันภัย" ซึ่งการจะเป็นนักคณิตศาสตร์ประกันภัยต้องมีการสอบวัดคุณวุฒิ เหมือนการสอบขอใบประกอบโรคศิลป์ของแพทย์หรือการสอบเนติบัณฑิตของนักกฎหมาย ซึ่งการสอบของนักคณิตศาสตร์ประกันภัยนั้นมี 10 ขั้น เป็นการสอบตามมาตรฐานสากล ซึ่งทุกครั้งที่สอบผ่านจะได้รับเงินเดือนเพิ่มตามคุณวุฒิขั้นละ 5,000 บาท และผู้ที่สอบผ่านทุกขั้นจะมีรายได้เฉลี่ยปีละ 6 ล้านบาทนอกจากนี้ อาจารย์พิเชษยังบอกขั้นหนึ่งที่จะก้าวไปสู่ความสำเร็จในอาชีพนักคณิตศาสตร์ประกันภัยในอนาคต ซึ่งนอกจากการศึกษาในระดับปริญญาตรีและโทแล้ว การเตรียมตัวเพื่อเข้าสอบรับรองมาตรฐานสากลในสายงานอาชีพนี้ก็ถือเป็นสิ่งจำเป็น โดยในต่างประเทศ นักคณิตศาสตร์ประกันภัยที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐานสากล เป็นที่ยอมรับและสามารถทำงานได้ทั่วโลก จะต้องผ่านการสอบเพื่อรับรองมาตรฐานจากสมาคมชั้นนำด้านคณิตศาสตร์ประกันภัย ตามสายงานด้านประกันภัยที่ตนเองสนใจหรือประกอบอาชีพในด้านนั้น เช่น ในประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดาจะมีการจัดสอบเพื่อรับรองมาตรฐานวิชาชีพนักคณิตศาสตร์ประกันภัย ได้แก่ การสอบกับ CAS (Casualty Actuarial Society) ซึ่งเป็นสมาคมสำหรับนักคณิตศาสตร์ด้านประกันวินาศภัย หรือการสอบกับ SOA (Society of Actuaries) ซึ่งเป็นสมาคมสำหรับนักคณิตศาสตร์ด้านประกันชีวิต เป็นต้น โดยการสอบนี้สามารถทำควบคู่ไปได้ขณะที่เรากำลังเรียนอยู่ และสามารถสอบเพื่อรับรองมาตรฐานนี้ได้โดยผ่านศูนย์สอบที่มีอยู่ในประเทศไทย
ความสามารถของนักคณิตศาสตร์ประกันภัย
แต่สำหรับประเทศไทย อาชีพ Actuary หรือนักคณิตศาสตร์ประกันภัย กลับไม่เป็นที่รู้จัก มีเพียงคนไทยไม่กี่คนที่เป็น "นักคณิตศาสตร์ประกันภัย" ซึ่งการจะเป็นนักคณิตศาสตร์ประกันภัยต้องมีการสอบวัดคุณวุฒิ เหมือนการสอบขอใบประกอบโรคศิลป์ของแพทย์หรือการสอบเนติบัณฑิตของนักกฎหมาย ซึ่งการสอบของนักคณิตศาสตร์ประกันภัยนั้นมี 10 ขั้น เป็นการสอบตามมาตรฐานสากล ซึ่งทุกครั้งที่สอบผ่านจะได้รับเงินเดือนเพิ่มตามคุณวุฒิขั้นละ 5,000 บาท และผู้ที่สอบผ่านทุกขั้นจะมีรายได้เฉลี่ยปีละ 6 ล้านบาทนอกจากนี้ อาจารย์พิเชษยังบอกขั้นหนึ่งที่จะก้าวไปสู่ความสำเร็จในอาชีพนักคณิตศาสตร์ประกันภัยในอนาคต ซึ่งนอกจากการศึกษาในระดับปริญญาตรีและโทแล้ว การเตรียมตัวเพื่อเข้าสอบรับรองมาตรฐานสากลในสายงานอาชีพนี้ก็ถือเป็นสิ่งจำเป็น โดยในต่างประเทศ นักคณิตศาสตร์ประกันภัยที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐานสากล เป็นที่ยอมรับและสามารถทำงานได้ทั่วโลก จะต้องผ่านการสอบเพื่อรับรองมาตรฐานจากสมาคมชั้นนำด้านคณิตศาสตร์ประกันภัย ตามสายงานด้านประกันภัยที่ตนเองสนใจหรือประกอบอาชีพในด้านนั้น เช่น ในประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดาจะมีการจัดสอบเพื่อรับรองมาตรฐานวิชาชีพนักคณิตศาสตร์ประกันภัย ได้แก่ การสอบกับ CAS (Casualty Actuarial Society) ซึ่งเป็นสมาคมสำหรับนักคณิตศาสตร์ด้านประกันวินาศภัย หรือการสอบกับ SOA (Society of Actuaries) ซึ่งเป็นสมาคมสำหรับนักคณิตศาสตร์ด้านประกันชีวิต เป็นต้น โดยการสอบนี้สามารถทำควบคู่ไปได้ขณะที่เรากำลังเรียนอยู่ และสามารถสอบเพื่อรับรองมาตรฐานนี้ได้โดยผ่านศูนย์สอบที่มีอยู่ในประเทศไทย
ความสามารถของนักคณิตศาสตร์ประกันภัย
นักคณิตศาสตร์ประกันภัย(Actuary-แอคชัวรี) สามารถที่จะวิเคราะห์เหตุการณ์ในอดีต ประเมินความเสี่ยงในปัจจุบัน และสร้างโมเดล(Models) คาดการณ์เหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต นักคณิตศาสตร์ประกันภัย (Actuary-แอคชัวรี) อาจจะพยากรณ์ในระยะยาวเพื่อที่จะประเมินสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นได้มากที่สุด และโอกาสของสิ่งที่ดีที่สุดและแย่ที่สุดของเหตุการณ์ในอนาคต บางครั้งพวกเขาถูกเรียกว่า "นักวิศวกรการเงิน" หรือ "นักคณิตศาสตร์เพื่อสังคม" เพราะความสามารถทางธุรกิจและความสามารถทางการวิเคราะห์ อันเป็นเอกลักษณ์ของพวกเขาช่วยให้สามารถแก้ปัญหาทางธุรกิจและสังคมที่นับวันจะยิ่งมากขึ้นเรื่อยๆ
ความสามารถของนักคณิตศาสตร์ประกันภัย (Actuary-แอคชัวรี) ที่กล่าวมาได้กลายเป็นสิ่งที่จำเป็นยิ่งยวดสำหรับธุรกิจประกันชีวิตและประกันวินาศภัย โดยใช้พื้นฐานของหลักการทางคณิตศาสตร์ สถิติประยุกต์ เศรษฐศาสตร์มหภาค เศรษฐศาสตร์จุลภาค ทฤษฎีการเงิน ทฤษฎีดอกเบี้ย การโมเดลความเสี่ยงในรูปแบบต่างๆ การสร้างสมการถดถอย หรือแม้กระทั่งวิชาที่ว่าด้วยธุรกิจประเภทต่างๆ ที่นักคณิตศาสตร์ประกันภัย (Actuary-แอคชัวรี) ต้องเอาไปใช้ประยุกต์ เช่น ธุรกิจประกันชีวิต ธุรกิจประกันวินาศภัย ธุรกิจประกันกลุ่ม ธุรกิจประกันอุบัติเหตุและสุขภาพ การจัดการความเสี่ยงในด้านการเงิน การประกันต่อ และการจัดการกองทุนบำเน็จบำนาญ เป็นต้น
บทบาทของนักคณิตศาสตร์ประกันภัย
นักคณิตศาสตร์ประกันภัยมีบทบาทสำคัญต่อทุกภาคธุรกิจในระบบเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาคบริการทางการเงิน ไม่ว่าจะเป็นบริษัทประกันภัย สถาบันการเงินต่างๆ ธนาคารพาณิชย์ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐ นอกจากนี้ ยังมีนักคณิตศาสตร์ประกันภัยอีกจำนวนไม่น้อยที่ทำงานให้กับบริษัทที่ปรึกษาด้านคณิตศาสตร์ประกันภัย หรือแม้กระทั่งการเป็นที่ปรึกษาอิสระ ถือได้ว่าเป็นอีกวิชาชีพหนึ่งที่มีความยืดหยุ่นสูง และมีอิสระในการเป็นเจ้านายตนเอง ปัจจุบันงานด้านคณิตศาสตร์ประกันภัยส่วนใหญ่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับอุตสาหกรรมประกันภัย นักคณิตศาสตร์ประกันภัยจะเป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในการคิดรูปแบบกรมธรรม์ต่างๆ กำหนดอัตราเบี้ยประกันภัย และคอยติดตามผลการดำเนินงานของบริษัทอย่างสม่ำเสมอ พร้อมกับให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์ต่อความสามารถในการทำกำไรของบริษัท นอกจากนี้ นักคณิตศาสตร์ประกันภัยยังคอยดูแลเงินกองทุนของบริษัทให้เพียงพอสำหรับการจ่ายค่าสินไหมทดแทน ตลอดจนให้คำแนะนำด้านการลงทุนสินทรัพย์ต่างๆ ซึ่งเปรียบเทียบได้ว่าเป็นมันสมองของบริษัท
วิชาชีพนักคณิตศาสตร์ประกันภัย
นักคณิตศาสตร์ประกันภัย เป็นวิชาชีพที่มีโอกาสประสบความสำเร็จสูงและมีความก้าวหน้าอย่างชัดเจนตามความสามารถของตน รวมทั้งเป็นที่ต้องการมากในตลาดแรงงานทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งเป็นอาชีพระดับหัวกะทิและมีสถานะที่สูงในสายตาของวิชาชีพอื่นๆทางการเงิน ในปี 2556 และหลายๆปีที่ผ่านมาอาชีพนักคณิตศาสตร์ประกันภัย(actuary-แอคชัวรี) ติดอันดับในกลุ่ม "อาชีพที่ดีที่สุด" ของการสำรวจจากแหล่งต่างๆ เช่น Career Cast และ Career-advice ในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยการจัดอันดับคำนึงถึง รายได้, สภาพแวดล้อม, ความก้าวหน้า, ความมั่นคง และความเครียดในการทำงาน นักคณิตศาสตร์ประกันภัยเป็นที่ต้องการทั่วโลกเพราะความสามารถรอบด้านของพวกเขา และกำลังเคลื่อนที่จากคนทำงานเบื้องหลังมายังตำแหน่งบริหารมากขึ้น วิชาชีพนี้เป็นวิชาชีพที่มีจริยธรรม พร้อมด้วยมาตรฐานของความประพฤติ, ความซื่อตรง, ความสามารถ และการตัดสินใจอย่างมืออาชีพ ซึ่งนักคณิตศาสตร์ประกันภัยต้องมีต่อบริษัทที่ทำงานอยู่และต่อลูกค้าของพวกเขา
โดยที่การเป็นนักคณิตศาสตร์ประกันภัยที่มีคุณวุฒิและประสบการณ์กำลังเป็นที่ต้องการอย่างมาก เหนือสิ่งอื่นใด นักคณิตศาสตร์ประกันภัยได้รับผลตอบแทนเป็นรายได้ที่สูง ทั้งนี้เรื่องของเงินเดือนและความก้าวหน้าขึ้นอยู่กับประสบการณ์และความสามารถภายหลังจากที่ผ่านการสอบของสมาคมคณิตศาสตร์ประกันภัยที่เป็นที่ยอมรับของนานาชาติจนได้รับคุณวุฒิเป็นนักคณิตศาสตร์ประกันภัย ในการที่จะได้รับคุณวุฒิเป็นนักคณิตศาสตร์ประกันภัย(actuary-แอคชัวรี) จำเป็นต้องสอบผ่านข้อสอบวิชาชีพหลายวิชา เช่น คณิตศาสตร์การเงิน, ทฤษฎีความเสี่ยงและความน่าจะเป็น, ทฤษฎีดอกเบี้ย, ทฤษฎีความน่าเชื่อถือและการแจกแจงการสูญเสีย และอื่นๆ เป็นต้น
มหาวิทยาลัยในเมืองไทยที่เปิดสอน
สำหรับการเตรียมตัวที่ดีที่สุดเพื่อเข้าสู่สายอาชีพนักคณิตศาสตร์ประกันภัย คงต้องเริ่มต้นในระดับปริญญาตรี ซึ่งก่อนหน้านี้ ประเทศไทยยังไม่มีการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ประกันภัยโดยตรง จนกระทั่ง ในปี 2552 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เปิดหลักสูตร"วิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาคณิตศาสตรตร์ประกันภัย" (หลักสูตรนานาชาติ)
นอกจากนี้ ยังคงมีสถาบันการศึกษาอื่นๆ ที่เปิดสอนเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ประกันภัย ได้แก่
- คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ภาควิชาสถิติ สาขาประกันภัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- คณะวิทยาศาสตร์ สถิติธุรกิจประกันภัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
- คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาสถิติ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- คณะวิทยาศาสตร์ สาขาคณิตประยุกต์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
- คณะพาณิชยศาสตร์และการจัดการ สาขาวิชาการประกันภัยและการจัดการความเสี่ยง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง
- คณะบริหารธุรกิจความเสี่ยงและอุตสาหกรรมบริการ เอกการประกันวินาศภัย มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เป็นต้น
อีกทั้ง ยังมีสถาบันการศึกษาที่เปิดสอนด้านคณิตศาสตร์ประกันภัยโดยตรงในระดับปริญญาโท ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA)
ทั้งนี้ พิเชษ ได้อธิบายเพิ่มเติมถึงการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีว่า ควรเลือกเรียนวิชาเอกทางด้านประกันภัย คณิตศาสตร์ หรือสถิติ หรือวิชาเอกทางด้านบริหารธุรกิจ หรือเรียนวิชาเอกทางเศรษฐศาสตร์ โดยมีวิชาโททางด้านคณิตศาสตร์ประกันภัย หรือคณิตศาสตร์ หรือสถิติ ซึ่งมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ที่เปิดสอนวิชาเอกทางด้านประกันภัยนั้น จะเน้นหลักการทั่วไปของการประกันภัยทั้งในส่วนของการประกันวินาศภัยและการประกันชีวิต มากกว่าการเน้นไปทางด้านคณิตศาสตร์ประกันภัยโดยตรง อย่างไรก็ตาม อาจมีการสอนหลักพื้นฐานในการคำนวณทางคณิตศาสตร์ประกันภัยเป็นบางรายวิชา ส่วนการเรียนการสอนในระดับปริญญาโทนั้น จะเน้นทางด้านคณิตศาสตร์ประกันภัยโดยตรง
นอกจากนี้ ยังคงมีสถาบันการศึกษาอื่นๆ ที่เปิดสอนเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ประกันภัย ได้แก่
- คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ภาควิชาสถิติ สาขาประกันภัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- คณะวิทยาศาสตร์ สถิติธุรกิจประกันภัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
- คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาสถิติ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- คณะวิทยาศาสตร์ สาขาคณิตประยุกต์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
- คณะพาณิชยศาสตร์และการจัดการ สาขาวิชาการประกันภัยและการจัดการความเสี่ยง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง
- คณะบริหารธุรกิจความเสี่ยงและอุตสาหกรรมบริการ เอกการประกันวินาศภัย มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เป็นต้น
อีกทั้ง ยังมีสถาบันการศึกษาที่เปิดสอนด้านคณิตศาสตร์ประกันภัยโดยตรงในระดับปริญญาโท ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA)
ทั้งนี้ พิเชษ ได้อธิบายเพิ่มเติมถึงการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีว่า ควรเลือกเรียนวิชาเอกทางด้านประกันภัย คณิตศาสตร์ หรือสถิติ หรือวิชาเอกทางด้านบริหารธุรกิจ หรือเรียนวิชาเอกทางเศรษฐศาสตร์ โดยมีวิชาโททางด้านคณิตศาสตร์ประกันภัย หรือคณิตศาสตร์ หรือสถิติ ซึ่งมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ที่เปิดสอนวิชาเอกทางด้านประกันภัยนั้น จะเน้นหลักการทั่วไปของการประกันภัยทั้งในส่วนของการประกันวินาศภัยและการประกันชีวิต มากกว่าการเน้นไปทางด้านคณิตศาสตร์ประกันภัยโดยตรง อย่างไรก็ตาม อาจมีการสอนหลักพื้นฐานในการคำนวณทางคณิตศาสตร์ประกันภัยเป็นบางรายวิชา ส่วนการเรียนการสอนในระดับปริญญาโทนั้น จะเน้นทางด้านคณิตศาสตร์ประกันภัยโดยตรง
ดังจะเห็นได้ว่าอาชีพนักคณิตศาสตร์ประกันภัยมีบทบาทที่สำคัญมากในปัจจุบันและในอนาคต ดังนั้นฉันจึงมีความใฝ่ฝันที่จะประกอบอาชีพนี้ในอนาคตเป็นอย่างมาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น